วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รางวัลและความภาคภูมิใจ

ผลงานรางวัลและความภาคภูมิใจ ตำบลจัดการสุขภาพ ต.ขามเปี้ย อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี



นวตกรรมสุขภาพของพื้นที่

นวัตกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรค
1. นวัตกรรม  3-3-24 (สาม สาม สองสี่) เคลื่อนที่เร็ว
          สภาพปัญหา
จากแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา  3-3-24  นั่นคือ  ศูนย์ระบาดวิทยารายงานโรคให้พื้นที่ระดับตำบลทราบ ภายใน 3 ชั่วโมง  รพ.สต. ออกสอบสวนโรคภายใน 3 ชั่วโมง  และดำเนินการควบคุมโรค ภายใน 24 ชั่วโมง  ดังนั้น  เพื่อให้เกิดความคล่องตัว  และเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง  จากการที่ตำบลขามเปี้ย  โดยการสนับสนุนของ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลขามเปี้ย  ที่ได้จัดทำโครงการตำบลควบคุมโรคเข้มแข็ง ปี 2555  โดยอบรมให้ความรู้และจัดตั้ง ทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน  หมู่ละ 5 คน  ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนประชาชน  ตัวแทน อสม. และตัวแทนผู้นำอื่นๆในชุมชน มาอบรมรับความรู้เรื่องระบาดวิทยา การสอบสวนโรค  การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค  ตลอดจนการซ่อมบำรุงเครื่องพ่นหมอกควัน
          ในปี 2556  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย  โดย นายรุ่งโรจน์   ทีอุทิศ  ผอ.รพ.สต.ขามเปี้ย  จึงได้เสนอของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลขามเปี้ย  เพื่อต่อยอด ทีม SRRT ประจำหมู่บ้าน  โดยพัฒนาพาหนะจักรยานยนต์ของทางราชการ  ปรับปรุงเป็นรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง  ติดตั้งเครื่องเสียงประชาสัมพันธ์  พร้อมเครื่องพ่นหมอกควันชนิดมือถือ  เพื่อสนับสนุนภารกิจของทีม SRRT หมู่บ้าน/ตำบล
          วิธีดำเนินการ
โดยมีระบบคือ  เมื่อ รพ.สต.ขามเปี้ย  ได้รับแจ้งจากศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ  เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ขามเปี้ย  จะจัดเตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย แบบสอบสวนโรคเฉพาะราย  สปอร์ตประชาสัมพันธ์/ไมโครโฟน  และเครื่องพ่นหมอกควันชนิดมือถือพร้อมเชื้อเพลิงและเคมีภัณฑ์  ออกสอบสวนโรคและทำการพ่นหมอกควันบริเวณรอบบ้านผู้ป่วย ภายในรัศมี 100 เมตร  จากนั้น  จะประสานของรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อดำเนินการควบคุมโรคทั้งหมู่บ้าน ภายใน  24  ชั่วโมง
ระยะเวลาดำเนินการ    เดือนกุมภาพันธ์ 2556
พื้นที่ดำเนินการ   ได้แก่ หมู่ 1,2,4,7, 9 และ 10 รัศมีไม่เกิน 10 กิโลเมตรจากที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย
ผลลัพธ์
1.จำนวนเหตุการณ์หรือโรคที่ต้องสอบสวนและควบคุมโรคทั้งหมด.....64..... เหตุการณ์
2.เข้าถึงพื้นที่ภายในเวลา....1....ชั่วโมงหลังได้รับแจ้งเหตุ จำนวน 61 เหตุการณ์  คิดเป็นร้อยละ 95.31
3.เข้าถึงพื้นที่ภายในเวลามากกว่า....1....ชั่วโมงหลังได้รับแจ้งเหตุ จำนวน 3 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 4.68
   เนื่องจาก รถสตาร์ตไม่ติด และพื้นที่ที่เป็นถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
4.จำนวนเหตุการณ์/หมู่บ้านที่พบผู้ป่วยใน Generationที่ 2 .........-.......เหตุการณ์/หมู่บ้าน
5.ร้อยละของเหตุการณ์/หมู่บ้านที่พบผู้ป่วยใน Generationที่ 2 ......-.......
6.นำเสนอนวัตกรรมต่อรองผู้อำนวยการกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข

ภาพกิจกรรมดำเนินงาน นวัตกรรม  (3-3-24) สาม สาม สองสี่ เคลื่อนที่เร็ว


นายก อบต.ขามเปี้ยออกเยี่ยมการปฏิบัติงานของ ทีม SRRT ระดับตำบล

ทีม SRRT ระดับตำบลออกดำเนินการให้สุขศึกษาและควบคุมโรค



ทีม SRRT ระดับตำบลออกสำรวจลูกน้ำยุงลายโดยหน่วย 3-3-24 เคลื่อนที่เร็ว
นำเสนอผลการใช้ นวัตกรรม 3-3-24 เคลื่อนที่เร็ว สอบสวนโรคระดับตำบล
ให้ รองผู้อำนวยการ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กระทรวงสาธารณสุข


2. นวัตกรรม “หัวใจสีเขียว-สีชมพู นำความห่วงใยป้องกันไข้เลือดออก”

          สภาพปัญหา
การสำรวจค่าความชุกลูกน้ำยุงลาย  เป็นการเฝ้าระวังและพยากรณ์แนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออก  จากพาหะนำโรค  ซึ่งมีดัชนีค่าความชุกลูกน้ำยุงลายเป็นตัวชีวัด  โดยในการสำรวจและดำเนินการในชุมชน  มีมาตรการต่อเนื่องหลายวิธี  บางชุมชนใช้มาตรการในการปรับหลังคาเรือนที่สุ่มพบลูกน้ำ  บางชุมชน  ใช้การปักธงเขียวสำหรับหลังคาเรือนที่สำรวจไม่พบลูกน้ำปกธงแดง  สำหรับครัวเรือนที่พบลูกน้ำ
          วิธีดำเนินการ
ตำบลขามเปี้ย  นำโดย  นายรุ่งโรจน์   ทีอุทิศ  ผอ.รพ.สต.ขามเปี้ย  จึงได้ประชุมประชาคมร่วมกับ ผู้นำฝ่ายบริหาร  ผู้นำฝ่ายปกครอง  ผู้นำสถานศึกษา  ตัวแทน อสม.  ตัวแทนประชาชน  ได้ลองยกตัวอย่างของชุมชนอื่นๆ  เพื่ออกมาตรการทางสังคมร่วมกัน  จึงได้เกิด นวัตกรรม “หัวใจสีเขียว-สีชมพู นำความห่วงใย ป้องกันไข้เลือดออก” จากผู้นำชุมชนไปสู่ประชาชนในตำบลขามเปี้ยในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก  โดยมีแนวคิดที่ว่า  มาตรการปรับเงิน สำหรับหลังคาเรือนที่สุ่มพบลูกน้ำ  และการติดธงแดง  มีความแข็งกระด้างเกินไป  เห็นควรแสดงความห่วงใยจากทีมผู้นำชุมชน  โดยใช้สัญลักษณ์หัวใจเป็นสื่อ  จึงได้จัดทำ  หัวใจสีเขียว-สีชมพู เป็นเครื่องมือเพื่อประกอบมาตรการในการกระตุ้นความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำร่วมกัน  โดย อสม.ทำการสำรวจลูกน้ำยุงทุกวันศุกร์  หากครัวเรือนใดพบลูกน้ำ ให้ติดป้ายข้อความที่มีสัญลักษณ์หัวใจสีชมพู และมีพันธะสัญญาว่าจะร่วมมือเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในระดับ เข้มข้น ถ้าตรวจพบลูกน้ำติดต่อกัน 3 สัปดาห์(ได้หัวใจสีชมพู 3ครั้ง) ให้ประกาศบ้านเลขที่ที่พบลูกน้ำทางหอกระจายข่าวเพื่อกระตุ้นให้เจ้าของบ้านได้ลงมือกำจัดลูกน้ำ แต่หากครัวเรือนใด  สุ่มไม่พบลูกน้ำ  จะติดป้ายข้อความที่มีสัญลักษณ์หัวใจสีเขียว  และมีพันธะสัญญาว่าจะร่วมมือเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในระดับ ปกติ

ระยะเวลาดำเนินการ  เดือน เมษายน 2556 – ปัจจุบัน
ผลลัพธ์
1. มีสมาชิกร่วมโครงการ .....1,475..... คน/ครัวเรือน  จำนวน ..12...หมู่บ้าน
2. ผลการสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านก่อนดำเนินการ ค่า HI ในภาพรวมทุกหมู่บ้าน ณ เดือน พฤษภาคม 2556 เท่ากับ 75  หลังดำเนินการ  ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ค่า HI  เท่ากับ  15.6
3. สามารถลดงบประมาณในการซื้อสารกำจัดลูกน้ำจากปี 2555 ได้...18,000...บาท
   (งบประมาณในการซื้อทรายกำจัดลูกนำทั้งตำบลปีละ 12 ถัง ปี 2556 ซื้อทราย 8 ถัง)

ภาพกิจกรรมดำเนินงาน นวัตกรรม “หัวใจสีเขียว-สีชมพู นำความห่วงใย ป้องกันไข้เลือดออก”


การประชุมระดมความคิดเห็นองค์กรชุมชน  คิดค้นนวตกรรม

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. มอบหัวใจสีเขียวให้หลังคาเรือนที่สำรวจไม่พบลูกน้ำ
                                       
                                       3. นวัตกรรม“ธนาคารปลากินลูกน้ำ”
          สภาพปัญหา
ตามที่สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก  เมื่อ ปี 2556  พื้นที่ตำบลขามเปี้ย  อำเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี  พบการระบาดในหลายหมู่บ้าน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามเปี้ย  โดย นายรุ่งโรจน์   ทีอุทิศ  ผอ.รพ.สต.ขามเปี้ย  จึงได้ประชุมประชาคมร่วมกับ ผู้นำฝ่ายบริหาร  ผู้นำฝ่ายปกครอง  ผู้นำสถานศึกษา  ตัวแทน อสม.  ตัวแทนประชาชน  และมีความเห็นร่วมกัน  ในการจัดตั้งธนาคารปลากินลูกน้ำในชุมชน  เพื่อการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกโดยวิธีการทางชีวภาพ
          วิธีดำเนินการ
แรกดำเนินการ  ใช้วิธีขอรับบริจาคปลาหางนกยูง  จากครัวเรือนที่มีการเลี้ยง  และนำมากระจายให้สมาชิกครัวเรือนอื่นๆภายในชุมชน  โดยเชิญชวนให้ประชาชนทุกหลังคาเรือน  สมัครเป็นสมาชิกธนาคารปลาหางนกยูง  เพื่อการขยายพันธุ์ในอนาคตต่อไป  โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า  เมื่อได้ปลามาฟรีแล้ว  จะต้องช่วยขยายให้บ้านใกล้เรืองเคียงให้มีปลาหางนกยูงในภาชนะใส่น้ำอุปโภค  เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ระยะเวลาดำเนินการ  เดือนพฤษภาคม 2556
ผลลัพธ์
1.มีธนาคารปลา..12..แห่ง  …12….หมู่บ้าน
2.สมาชิกร่วมโครงการ ........1,475...... คน/ครัวเรือน
3. ผลการสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ก่อนดำเนินการ ค่า HI ในภาพรวมทุกหมู่บ้าน ณ เดือน พฤษภาคม 2556 เท่ากับ 75  หลังดำเนินการ  ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2557 ค่า HI  เท่ากับ  15.6
4.สามารถลดงบประมาณในการซื้อสารกำจัดลูกน้ำได้...18,000...บาท
  (งบประมาณในการซื้อทรายกำจัดลูกนำทั้งตำบลปีละ 12 ถัง ปี 2556 ซื้อทราย 8 ถัง)


ภาพกิจกรรมดำเนินงาน นวัตกรรม “ธนาคารปลากินลูกน้ำ”

อาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียนสำรวจปลาเพื่อเตรียมก่อตั้งธนาคารปลากินลูกน้ำ

ธนาคารปลากินลูกน้ำตำบลขามเปี้ยสนับสนุนปลาหางนกยูงให้แต่ละครัวเรือนนำไปขยายพันธุ์และ
กระจายลงสู่ภาชนะบรรจุน้ำอุปโภค